กลยุทธอ่อน ทำแฟรนไชส์พัง
[bt_section layout=”wide” top_spaced=”not-spaced” bottom_spaced=”not-spaced” skin=”inherit” full_screen=”no” vertical_align=”inherit” divider=”no” back_image=”” back_color=”” back_video=”” video_settings=”” parallax=”” parallax_offset=”” animation=”” animation_back=”” animation_impress=”” el_id=”” el_class=”” el_style=””][bt_row][bt_column width=”1/1″ align=”left” vertical_align=”inherit” border=”no_border” cell_padding=”default” animation=”no_animation” text_indent=”no_text_indent” highlight=”no_highlight” background_color=”” opacity=”” inner_background_color=”” background_image=”” el_class=”” el_style=””][bt_bb_separator top_spacing=”small” bottom_spacing=”small” border_style=”none” border_width=”” responsive=”” publish_datetime=”” expiry_datetime=”” el_id=”” el_class=”” el_style=””][/bt_bb_separator][/bt_column][/bt_row][bt_row][bt_column width=”1/1″ align=”left” vertical_align=”btMiddleVertical” border=”no_border” cell_padding=”btNoPadding” animation=”no_animation” text_indent=”no_text_indent” highlight=”no_highlight” background_color=”” opacity=”” inner_background_color=”” background_image=”” el_class=”” el_style=””][bt_text]
กลยุทธอ่อน ทำแฟรนไชส์พัง
หลังจากที่ได้ไปร่วมวงเสวนาของโครงการพัฒนาแฟรนไชส์พื้นฐาน B2B ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันก่อนนี้ ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการบนเวที จนเห็นสาเหตุว่าทำไมหนอแฟรนไชส์หลายรายจึงไปไม่ไกล ดันไปไม่ถึงฝัน จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
- ตำแหน่งทางการตลาด วางผิด ชีวิตเปลี่ยน : หลายกิจการเริ่มธุรกิจจากความฟลุ๊ค เช่น ตลาดขณะนั้นสินค้าอยู่ในกระแสเลยทำให้ลูกค้าเยอะ เมื่อลูกค้าเยอะก็มี บางคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ บางธุรกิจก็เลยขายแฟรนไชส์ให้โดยยังไม่พร้อม ไม่ได้คิดกลยุทธแฟรนไชส์ให้ดี ว่าเดี๋ยวจะต้องเจออะไรในอนาคต หลายกิจการพัฒนาอีกหน่อยก็จะสร้างกำไรให้สาขาแฟรนไชส์ได้ระยะยาว แต่ดันพลาดทำให้ออกแรงเหนื่อย ลองนึกภาพดูว่าถ้าท่านทำร้านหมูปิ้งอร่อยๆ จะเปิดขายแฟรนไชส์หมูปิ้งก็ย่อมได้แต่ก็ต้องทำแบบมีจำนวนมากๆระดับโรงงาน ต้องใช้แรงงานมาเสียบหมูจำนวนมาก และจะพบปัญหากับผู้ซื้อแฟรนไชส์รายย่อยที่มีปัญหาค่อนข้างมาก ทำกำไรได้ยากจากราคาตลาดไม้ละ 10 บาท แต่ถ้าวางตำแหน่งการตลาดใหม่ แปลงสภาพหมูปิ้งให้กลายเป็นเสต็กหมู ซึ่งจริงๆปริมาณก็เทียบเท่าหมูปิ้งราว 3 -4 ไม้ ใส่ผักสลัดเคียงลงไปหน่อย ขายชุดละ 80 บาทขึ้นไปถึงหลักร้อย ทำเป็นร้านอาหารในรูปแบบต่างๆที่ตกแต่งร้านสวยๆดึงดูด ย่อมกำไรดีกว่า เหนื่อยน้อยกว่า ขยายตลาดง่ายกว่า โอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่า และเมื่อจะเป็นแฟรนไชส์ก็สามารถใส่ระบบงานต่างๆเข้าไปได้มีประสิทธิภาพกว่า ความยั่งยืนจะดีกว่าด้วย และการลอกเลียนแบบก็จะทำได้ยากกว่าจากองค์ประกอบหลายๆประการ จะเห็นว่า หมูปิ้งเหมือนกัน วางกลยุทธต่างกัน เราจึงต้องหาตำแหน่งการตลาดของธุรกิจอย่างรอบคอบ
- ขายแฟรนไชส์ไม่เลือกหน้า : แฟรนไชส์ซอจำนวนไม่น้อย อยากขายแฟรนไชส์ และวัดความสำเร็จจากเงินแรกเข้า ตลอดจนจำนวนสาขาที่มากๆ จึงรับแฟรนไชส์ไม่คัดกรองให้ดี ใครมีเงินมา หาทำเลได้ ก็รับหมด ซึ่งจริงๆ การขายแฟรนไชส์คล้ายกับการแต่งงาน(ทางธุรกิจ) จะเลือกใครก็ต้องดูประวัติ อาชีพ การเงิน วิถีชีวิต ให้ดี เพราะบ่อยครั้งที่ซื้อไปแล้วไม่ดูแลตามมาตรฐาน แหกกฎ สารพัดปัญหาเวียนหัว ที่จะสร้างเรื่องราวให้แฟรนไชส์ซอ และสุดท้ายก็จบลงด้วยการถูกร้องเรียน ลูกค้าได้รับผลกระทบ แบรนด์เสีย ปิดตัว ฟ้องร้อง ซึ่งเรื่องนี้ให้ยึดหลักมั่นใจ รอบคอบไว้ก่อน
- ไม่พัฒนาแฟรนไชส์ต่อเนื่อง : กิจการแฟรนไชส์บางแห่งก็มุ่งแต่จะขายสินค้า ขายวัตถุดิบ ขายแฟรนไชส์มาก โปรโมตโฆษณาเต็มที่ จนลืมที่จะย้อนมาพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดี ทั้งเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต้องทำสม่ำเสมอ การศึกษาเทรนธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง การจัดกระบวนทัพการตลาดและระบบปฏิบัติการ ซึ่งหากไม่มีสิ่งใหม่ ขาดสีสันแห่งการพัฒนา และเติมเต็มจุดบกพร่องอย่างต่อเนื่องแล้ว กิจการจะค่อยๆ โทรมลงเรื่อยๆ ทั้งทางกายภาพ และภาพในใจผู้บริโภค
- ไม่ตรวจสอบสาขาให้ดี : หัวใจของงานร้านค้าปลีกระบบแฟรนไชส์ คือการกำกับดูแลมาตรฐานสาขาให้อยู่ในระดับที่ดีเสมอกัน แต่หากแฟรนไชส์เจ้าใด สวยดูดี วันเปิดร้านวันเดียว หลังจากนั้นก็หลุด มีความสกปรก สินค้าวางไม่สวยงามเรียบร้อย อาหารไม่อร่อย พนักงานขาดการอบรมแล้วละก็ผู้บริโภคก็จะถอยห่างและอาจยังเอาไปประจานในโลกโซเชียลได้อีก แต่กิจการแฟรนไชส์ขนาดเล็กก็จะพบปัญหาว่าออกแบบธุรกิจไม่ดี ไม่มีงบไปดูแลตรวจตราสาขาที่ร้องเรียนได้ หรือวางกลยุทธด้านสัญญาและคู่มือปฏิบัติการไว้ไม่รอบคอบทำให้บังคับใช้กับสาขาไม่ได้ผล เรื่องแบบนี้เกิดจากการวางแผนผิดพลาดแต่ต้น และขาดงบ ขาดคนดูแล หากเป็นเพียงเรื่อง งบเรื่องคน ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะสมัยนี้มีหน่วยงานรับจ้างตรวจมาตรฐานให้กิจการ ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ ให้ตรวจและให้คำแนะนำ ตลอดจนทำรายงานกลับมาได้ เสียเงินจ้างเป็นครั้งคราวไป แต่ถ้าเกิดจากแผนงาน กลยุทธที่ไม่คิดให้ดีเสียก่อนลงมือทำ ก็คงจะเหนื่อยกันหน่อยในการตามแก้ไขปัญหา
เขียนโดย
อาจารย์ จิรภัทร สำเภาจันทร์
– กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท็อป บิสสิเนส คอนซัลแทนท์ แอนด์ แมนเนจเมนท์จำกัด
– ผู้บุกเบิกแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการรายแรกของไทย
– ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้าน กลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ ค้าปลีก
โพสต์ทูเดย์ / คอลัมน์ / ใครซิสวอตซ์
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562
[/bt_text][bt_bb_separator top_spacing=”small” bottom_spacing=”small” border_style=”none” border_width=”” responsive=”” publish_datetime=”” expiry_datetime=”” el_id=”” el_class=”” el_style=””][/bt_bb_separator][/bt_column][/bt_row][bt_row][/bt_row][/bt_section]