พร้อมหรือยัง? ที่จะขยายธุรกิจด้วย “วิถีแฟรนไชส์”

ก้าวเข้าสู่ปีพุทธศักราชใหม่ 2563 “ปีชวด” ทว่า ขอให้ธุรกิจของท่านจงมีแต่ความสำเร็จ อย่าได้ชวด เหมือนชื่อปีนักษัตร ขอให้รวยๆๆ เฮงๆๆ กันทุกท่านเลยครับ

ขออนุญาตเข้าเรื่องครับ ว่ากันด้วยเรื่องของการขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์ของภาครัฐตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปี 2563 นี้ โดยภาครัฐก็พยายามสนับสนุนธุรกิจ Start Up ธุรกิจเอสเอ็มอีและแฟรนไชส์กันอย่างต่อเนื่อง

โดยงานรัฐบาลที่ดูแลภาคเศรษฐกิจ ก็พยายามประโคมโหมกระพือเรื่องเศรษฐกิจฟื้นแล้วๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่น (ที่ปลุกไม่ขึ้นมานานมาก) ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง  ด้วยการเปิดตัวเลขการส่งออกที่ดีเติบโตสูงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา  หรือข้อมูลตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศไทยสูงสุดในรอบหลายปี รวมถึงตลาดหุ้นที่พุ่งทะยานในเชิงบวก  เป็นต้น
ด้วยสัญญาณเศรษฐกิจที่ดี  และรัฐบาลพยายามอัดงบการลงทุนพื้นฐาน  จนกระทั่งภาคเอกชนมีการลงทุนอัดเข้ามาเสริม  เมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้การลงทุนภาค SMEs กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง    ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ก็ย่อมเติบโตตามไปด้วยเช่นกัน

ในการลงทุนทำธุรกิจSMEs ของคนรุ่นใหม่ นอกจากขยายโดยทำธุรกิจออนไลน์ซื้อมาขายไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์ ยังเป็นแนวโน้มที่ยังขยายตัวได้อีกมากทีเดียว  และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างสูงในอนาคต
สิ่งที่อยากจะฝากบอกไปยังผู้อ่านทุกท่าน คือ ธุรกิจสามารถเลือกวิถีแฟรนไชส์ นำมาใช้ในการขยายตลาด  ขยายพื้นที่  ขยายหน้าร้าน  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งผมอยากเสนอให้ท่านลองพิจารณาว่าธุรกิจของท่านสามารถขยายแฟรนไชส์ได้หรือไม่  โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาดังนี้

1. ธุรกิจแฟรนไชส์  ไม่ใช้ความสามารถพิเศษส่วนบุคคล  ถ้าธุรกิจท่านไม่ใช่งานที่พึ่งพาความสามารถเฉพาะตัวสูงที่ลอกเลียนแบบได้ยาก  สอนกันยากและสอนกันนานแล้วละก็  สามารถพัฒนาเป็นแฟรนไชส์ได้ครับ  แต่ถ้าท่านเป็นหมอดูที่มีชื่อเฉพาะทางที่มีคนศรัทธา  เป็นแพทย์ที่ต้องไปร่ำเรียนเทคนิคพิเศษที่ยากสุดๆ  อันนี้ระบบแฟรนไชส์คงไม่ตอบโจทย์ (แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ สามารถขยายด้วยระบบแฟรนไชส์ได้)

2. ธุรกิจที่ท่านทำต้องการผู้ร่วมขยายงานที่ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องธุรกิจนี้มาก่อน  แต่สามารถวางระบบให้ทำงานได้  และบางส่วนสอน อบรม ถ่ายทอดความลับทางการค้า ให้เรียนรู้ได้  เช่น ถ้าเป็นธุรกิจอาหาร  แต่ท่านสามารถออกแบบระบบให้ครัวที่ร้านไม่จำเป็นต้องทำกับข้าว โดยใช้ฝีมือพ่อครัวระดับชั้นยอด  เพราะออกแบบให้มีซอสพิเศษแสนอร่อย และการเตรียมอาหารบางส่วนมาแล้ว  ทำให้คนธรรมดาๆ เรียนรู้วิธีทำอาหารของร้าน  จนกระทั่งได้รสชาติมาตรฐาน เหมือนๆ กันทุกจาน  ก็เป็นอันใช้ได้

3. ถ้าธุรกิจของท่านต้องการขยายตัวให้รวดเร็ว  แต่ไม่ต้องการกู้เงิน หรือขยายเพิ่มทุนจำนวนมากๆ มารองรับการขยายงาน  ระบบแฟรนไชส์เป็นวิธีที่ใช้เงินลงทุนในการจัดวางระบบ และเปิดร้านของตนเองจำนวนหนึ่ง  และสาขาที่เหลือก็ขยายด้วยระบบแฟรนไชส์   ทำให้ใช้เงินนักลงทุนมาเปิดสาขาของธุรกิจ  และตัวธุรกิจเองก็ได้เงินทุนมาจัดแจงดูแลสาขาใหม่จากเงินของนักลงทุนเอง

4. ธุรกิจแฟรนไชส์มองกระบวนการมากกว่าตัวสินค้า ในธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องจัดกระบวนการให้รองรับต่อการบริหารจัดการที่แบ่งหน้าที่ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี  และทำกระบวนการให้ราบรื่น ประทับใจลูกค้า  แม้สินค้าจะไม่ถึงขนาดดีสุดยอด  แต่ก็ดีตามระดับมาตรฐานที่ผู้บริโภคคาดหวัง  และสร้างประสบการณ์ที่ดี  ที่มีสาขาจำนวนมากรองรับ

5. ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากกว่าแค่ตัวแทนจำหน่าย ยกตัวอย่าง ถ้าธุรกิจท่านต้องการแค่หน้าร้านขายของ ก็อาจนำสินค้าไปฝากขาย  หาหน้าร้านในห้างโมเดิร์นเทรดมาช่วยขาย   แต่แฟรนไชส์ต้องใส่ Shop Brand (ตรายี่ห้อร้านค้า) และกระบวนการให้บริการ  เข้ามาทำให้มีอะไรมากกว่าแค่สินค้า  ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายเลือกพัฒนาธุรกิจให้ขยายด้วยระบบแฟรนไชส์ เพื่อลดการแข่งขันและการบีบคั้นในช่องทางขายผ่านโมเดิร์นเทรดที่นับวันๆ จะเรียกผลประโยชน์จากผู้ผลิตมากขึ้น และมีคู่แข่งในชั้นวางมากขึ้น

6. ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ทำได้ในทุกกลุ่มธุรกิจัยรายเลือกพัฒนาธุรกิจให้เป็นแฟนห้บริการ  เข้ามา หาหน้าร้านในห้างมาช่วยขายาจะไม่ถึงขนาดดีสุดยอด  แต่ก็ดีตามระดับมาตรฐา  จริงอยู่ที่ธุรกิจอาหารนิยมใช้ระบบแฟรนไชส์ในการขยายสาขา  แต่จริงๆ แล้วธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้านก็สามารถขยายด้วยระบบแฟรนไชส์ได้เช่นกัน  เช่นในสหรัฐอเมริกา มีแฟรนไชส์ นิติบุคคลบริหารอาคารชุด  ซึ่งมีขนาดธุรกิจหลายพันล้านเหรียญเลยทีเดียว

7. ธุรกิจแฟรนไชส์จะโตได้ต้องเริ่มจากการวางระบบภายในให้ดีและพร้อม  ไม่ใช่เริ่มจากการขายแฟรนไชส์โดยยังไม่พร้อม  โดยในธุรกิจที่น่าสนใจแปลกใหม่ไฟแรง มักมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์โดยยังไม่พร้อม  ถ้าใจอ่อนขายแฟรนไชส์ไปโดยไม่พร้อม  ก็จะได้ทั้งเงินและปัญหาตามมาได้  ดังนั้นธุรกิจท่านที่จะขยายแฟรนไชส์ต้องเริ่มจากการวางกลยุทธ์ที่ดี ก่อนเปิดขยายแฟรนไชส์

อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกท่านพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่า ธุรกิจท่านพร้อมเลือก วิถีแฟรนไชส์ เป็นกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจหรือไม่  ถ้าใช่ ❗️ เตรียมตัวพร้อมและลุยเลยครับ

 

บทความโดย

อาจารย์ จิรภัทร สำเภาจันทร์
– กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท็อป บิสสิเนส คอนซัลแทนท์ แอนด์ แมนเนจเมนท์จำกัด
– ผู้บุกเบิกแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการรายแรกของไทย
– ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้าน กลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ ค้าปลีก

TOP BUSINESS
Credit : สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ / https://www.flathailand.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สอบถามข้อมูล