แฟรนไชส์ซอร์ต้องมี 5 คุณสมบัติ มัดใจนักลงทุน

แฟรนไชส์ซอร์ต้องมี 5 คุณสมบัติ มัดใจนักลงทุน💘

การแข่งขันกับโลกธุรกิจเป็นของคู่กัน การแข่งขันในระบบแฟรนไชส์ก็ดุเดือดไม่แพ้กันด้วย นักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์สักตัว ก็ย่อมมองหาธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ที่ตนเองต้องการ แล้วอะไรที่จะเป็นตัวตัดสินให้นักลงทุนเลือกมาซื้อธุรกิจของคุณ ลองไปดู 5 คุณสมบัติของแฟรนไชส์ซอร์ ที่สามารถดึงดูดแฟรนไชส์ซีให้หันมาสนใจในตัวแฟรนไชส์ซอร์ได้

1 มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีฐานลูกค้า และเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
ชื่อเสียงเป็นจุดตั้งต้นหนึ่งที่นักลงทุนมือใหม่ต้องการ เพราะสิ่งนั้นสามารถลดความเสี่ยงในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ได้ แฟรนไชส์ซอควรสร้างแบรนด์ของตนเองให้เป็นที่ยอมรับ ดูแลรักษาภาพลักษณ์ให้โดดเด่นเหนือคู่แข่งให้ได้

2 มีรูปแบบธุรกิจที่เชื่อถือได้
สิ่งต่อมาที่นักลงทุนจะมองหาในตัวแฟรนไชส์ซอร์ก็คือ รูปแบบทางธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือ มีการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการวางกรอบแผนงานที่แน่นอน อาทิ จำนวนเงินที่ต้องลงทุน กระบวนการที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นแฟรนไชส์ การบริหารจัดการสาขา และเอกสารข้อมูลแฟรนไชส์นั้นถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่

3 มีระบบสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไชส์ซี
การเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ดีนั้น ไม่จบอยู่ที่การขายสิทธิ์ไปแล้วปล่อยให้แฟรนไชส์ซีเผชิญโลกธุรกิจด้วยตนเอง แต่ต้องมีการจัดฝึกอบรมการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยี สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น รวมถึงวางกลยุทธ์การตลาดที่ดีให้แก่แฟรนไชส์ซีด้วย เพราะหากไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่ใช่วิถีในระบบแฟรนไชส์

4 มีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสำคัญอีกข้อคือการที่แฟรนไชส์ซอร์นั้นไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ใช่ว่าแบรนด์แข็งแกร่งก็ชะล่าใจ ไม่การทำการตลาด ปล่อยให้แต่ละสาขาบริหารจัดการด้วยตนเอง หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุน เพราะผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์นั้น เขาก็หวังพึ่งว่าบริษัทแม่จะคอยช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจนั้นเติบโตในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

5 มีสัญญาที่เป็นธรรม
ปัจจัยสุดท้ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย สัญญาที่เสนอแก่ผู้ที่จะมาซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องตั้งอยู่บนความสมเหตุสมผล ไม่เอารัดเอาเปรียบ ค่าใช้จ่ายและระยะคืนทุนก็ต้องตั้งอยู่บนหลักการที่เชื่อถือได้ ที่สำคัญไม่ควรมีลับลมคมในกับแฟรนไชส์ซี และต้องเข้าใจว่าแฟรนไชส์ซีนั้นไม่ใช่ลูกน้อง แต่เป็นผู้ร่วมทำธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความเติบโตไปด้วยกัน

แฟรนไชส์ซอร์ต้องจำไว้เสมอเลยว่า หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์นั้นไม่ได้จบอยู่ที่การขายสิทธิ์ให้แฟรนไชส์ซี แต่แฟรนไชส์ซอร์มีหน้าที่สนับสนุนทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถดำเนินกิจการให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ เมื่อแฟรนไชส์ซีมีปัญหา แฟรนไชส์ซอร์ก็ต้องเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลืออีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สอบถามข้อมูล