Knowledge

เลือก “สินเชื่อ” ให้ตอบโจทย์กับ “แฟรนไชส์”

แม้ว่าเศรษฐกิจจะยังไม่สู้ดีนัก  แต่คุณเชื่อไหม ❓ ว่า ในส่วนของภาคธุรกิจแฟรนไชส์จะกลับตาลปัตรสวนทางกัน เนื่องจากประชาชนจะหันหน้ามาลงทุนในระบบแฟรนไชส์กันมากขึ้น  เหตุเพราะว่า แฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่มีระบบ ระเบียบแบบแผนที่จัดการง่าย แค่ลงทุนซื้อระบบที่เจ้าของแบรนด์ทำจนประสบความสำเร็จแล้วมาลงมือปฏิบัติบริหารต่อยอดได้ทันที โดยปัจจุบัน ภาครัฐเองก็พยายามสนับสนุนแฟรนไชส์ขนาดเล็กที่ลงทุนไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งเป็นกลุ่มรถเข็นคีออสก์ ที่ผลิตไม่ยุ่งยาก ยกตัวอย่างเช่น กาแฟ ☕️ เครื่องดื่ม 🥤  หมูปิ้ง 🍖  ลูกชิ้น 🍡  ฯลฯ  ไปยังกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ให้มีอาชีพและลงทุนได้ ภายใต้การสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารของรัฐ อาทิ  ธนาคารออมสิน  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โดยเป็นการกู้ปลอดดอกเบี้ย และไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน  ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ เนื่องจากนโยบายรัฐอยากให้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยเงินลงไป  แต่ธนาคารของรัฐกลับไม่ค่อยอำนวยความสะดวกเลย อาจเป็นเพราะความเสี่ยงในการปล่อยกู้ที่จะเป็นหนี้สูญสูงมากๆ  ทำให้การปล่อยเงินกู้เป็นไปด้วยความล่าช้า  และไม่เป็นไปตามที่คุยกันไว้…

Read Moreเลือก “สินเชื่อ” ให้ตอบโจทย์กับ “แฟรนไชส์”

“มาสเตอร์แฟรนไชส์” ไพ่ตาย พาธุรกิจเลเวลอัพ!

สำหรับธุรกิจที่พร้อมขยายตลาดด้วยระบบแฟรนไชส์ในต่างประเทศ แม้กิจการจะมีความพร้อมภายในองค์กรแล้ว แต่เมื่อต้องการขยายออกไปสู่ตลาดนอกพื้นที่ ต้องทำการบ้านอย่างหนัก รวมทั้งศึกษาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจและแผนกลยุทธ์อย่างรอบด้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้าหรือแฟรนไชส์ซีสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และเติบโตได้ การให้สิทธิ์แฟรนไชส์มีข้อดีหลายประการ คือ เมื่อองค์กรมีความพร้อมในระดับหนึ่ง สามารถบริหารจัดการภายในได้ลงตัว  มีทีมงานพร้อม  และต้องการขยายช่องทางการตลาดด้วยระบบแฟรนไชส์ จะทำให้กิจการขยายได้รวดเร็ว  โดยให้สิทธิ์คนท้องถิ่นที่มีความชำนาญและมีข้อมูลท้องถิ่น ดำเนินการแทนองค์กรธุรกิจได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนและพนักงานของส่วนกลาง ขออนุญาตพาย้อนกลับในงาน Thaifex  เมื่อวันที่ 29 พ.ค.- 2 มิ.ย. 2561 ของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ากิจการร้านอาหารเครื่องดื่ม กาแฟ จำนวนไม่น้อย ประกาศตัวในงานว่ารับสมัคร “มาสเตอร์ แฟรนไชส์ (Master Franchises) ในต่างประเทศ”  โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ บริษัทในเครือCP  ก็นำ brand ธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม มาประกาศรับซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ในต่างแดน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้กระทั่งผู้ประกอบการรายใหญ่ อย่าง CP…

Read More“มาสเตอร์แฟรนไชส์” ไพ่ตาย พาธุรกิจเลเวลอัพ!

4 เหตุผล ทำแฟรนไชส์พัง! ไม่ปังเพราะอะไร?

หลายคนมีคำถามและสงสัยกันว่า หลายธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะอะไร ทั้งที่แบรนด์ดูดี สินค้าน่าสนใจ มีลูกค้าเยอะ แต่กลับไปได้ไม่ไกล ไปได้ไม่ถึงที่ฝันไว้ โดยวันนี้ FLA จะนำมาเล่าสู่กันฟังว่าเกิดจากอะไรและทำไมถึงเป็นเช่นนี้ วางตำแหน่งทางการตลาดผิด ชีวิตเปลี่ยน บางธุรกิจเริ่มจากจับตลาดติดกระแส ทำให้มีลูกค้าเยอะ ผู้คนสนใจ จึงรีบงขายแฟรนไชส์โดยยังไม่พร้อม ไม่มีการวางแผนที่ดีพอ หลายธุรกิจหากพัฒนาต่อยอดอีกหน่อยก็จะไปได้ไกลและสร้างกำไรให้สาขาแฟรนไชส์ได้ในระยะยาว ยกตัวอย่าง เช่น เรามีร้านหมูปิ้งรสเด็ด จะเปิดขายแฟรนไชส์หมูปิ้งไม้ละ 10 บาท ก็ย่อมทำได้ แต่ต้องใช้กำลังคนมากๆ ระดับโรงงาน และทำกำไรได้ยาก แต่ถ้าวางกลยุทธ์ตำแหน่งทางการตลาดใหม่ เปลี่ยนจากหมูปิ้ง เป็นสเต๊กหมู ปริมาณต่อชิ้นราว 3-4 ไม้ของหมูปิ้ง ใส่สลัดผัก มันฝรั่งทอด ลงไปหน่อย อาจขายได้หลักร้อย ทำหน้าร้านสวยๆ เพิ่มเมนูใหม่ๆ เอาใจวัยรุ่น…

Read More4 เหตุผล ทำแฟรนไชส์พัง! ไม่ปังเพราะอะไร?

มองทิศทางแฟรนไชส์ไทย ปี 2020 ขยายแฟรนไชส์ให้น้อย แต่เน้นคุณภาพ

ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่เข้ามาทักทาย แน่นอนว่ายุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวดเร็วในโลกธุรกิจ  ทำให้เราย่อมคาดคะเนผลบวก และลบในการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งในธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นกัน  ซึ่งทิศทางจะเป็นอย่างไรบ้าง  ขอสรุปเอาไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ครับ 1.การขยายสาขาแฟรนไชส์จะเน้นขายสิทธิ์ให้แฟรนไชส์ซีน้อยราย  ไม่ใช่เน้นขายให้นักลงทุน 1 ราย ต่อ 1 สาขาเหมือนเดิมอีกต่อไป เหตุเพราะว่าการให้สิทธิ์แฟรนไชส์นั้นต้องเรียนรู้และคัดเลือกผู้ซื้อสิทธิ์ที่มีศักยภาพ มีความพร้อมและความเข้าใจกันเป็นอย่างดี  และบทเรียนที่ผ่านมาทำให้กิจการแฟรนไชส์เข้าใจได้ว่า ยิ่งมีนักลงทุนเยอะ ยิ่งทำให้ต้นทุนสูงและความเสี่ยงสูง  การสื่อสารและทำความเข้าใจก็ยิ่งล่าช้า ดังนั้นในแฟรนไชส์ขนาดใหญ่จึงเริ่มที่จะยกเลิกนโยบายเปิดขายให้แฟรนไชส์ซีรายใหม่ ที่ไม่เคยซื้อแฟรนไชส์กันมาก่อน แต่จะเน้นให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซีเดิมที่เคยทำธุรกิจด้วยกันมาแล้วและมีความสัมพันธ์ที่ดี  มีผลงานการทำธุรกิจที่ดี สร้างยอดขายได้ดี  พัฒนาตัวเองได้ดี  ปฏิบัติตามนโยบายของสำนักงานใหญ่ได้ นอกจากนี้แล้ว ฟากฝั่งของทางแฟรนไชส์ซี หากขยายสาขาร่วมกับบริษัทแม่หลายๆ สาขา ก็จะมีผลดีเรื่องต้นทุนในการบริหารจัดการสาขา  และความสนใจโฟกัสธุรกิจจะดีกว่าการซื้อสิทธิ์สาขาเพียง 1 แห่ง  โดยในแบรนด์ใหญ่ๆ ที่เริ่มไปแล้วในการดำเนินการ ตามรูปแบบนี้ ได้แก่ กิจการร้านค้าปลีกสะดวกซื้อ 7-11…

Read Moreมองทิศทางแฟรนไชส์ไทย ปี 2020 ขยายแฟรนไชส์ให้น้อย แต่เน้นคุณภาพ

พร้อมหรือยัง? ที่จะขยายธุรกิจด้วย “วิถีแฟรนไชส์”

ก้าวเข้าสู่ปีพุทธศักราชใหม่ 2563 “ปีชวด” ทว่า ขอให้ธุรกิจของท่านจงมีแต่ความสำเร็จ อย่าได้ชวด เหมือนชื่อปีนักษัตร ขอให้รวยๆๆ เฮงๆๆ กันทุกท่านเลยครับ ขออนุญาตเข้าเรื่องครับ ว่ากันด้วยเรื่องของการขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์ของภาครัฐตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปี 2563 นี้ โดยภาครัฐก็พยายามสนับสนุนธุรกิจ Start Up ธุรกิจเอสเอ็มอีและแฟรนไชส์กันอย่างต่อเนื่อง โดยงานรัฐบาลที่ดูแลภาคเศรษฐกิจ ก็พยายามประโคมโหมกระพือเรื่องเศรษฐกิจฟื้นแล้วๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่น (ที่ปลุกไม่ขึ้นมานานมาก) ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง  ด้วยการเปิดตัวเลขการส่งออกที่ดีเติบโตสูงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา  หรือข้อมูลตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศไทยสูงสุดในรอบหลายปี รวมถึงตลาดหุ้นที่พุ่งทะยานในเชิงบวก  เป็นต้น ด้วยสัญญาณเศรษฐกิจที่ดี  และรัฐบาลพยายามอัดงบการลงทุนพื้นฐาน  จนกระทั่งภาคเอกชนมีการลงทุนอัดเข้ามาเสริม  เมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้การลงทุนภาค SMEs กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง    ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ก็ย่อมเติบโตตามไปด้วยเช่นกัน ในการลงทุนทำธุรกิจSMEs ของคนรุ่นใหม่ นอกจากขยายโดยทำธุรกิจออนไลน์ซื้อมาขายไปแล้ว…

Read Moreพร้อมหรือยัง? ที่จะขยายธุรกิจด้วย “วิถีแฟรนไชส์”

ธุรกิจอะไรบ้าง? ที่สร้างเป็นแฟรนไชส์ “ได้” และ “ไม่ได้”

ขณะที่โลกธุรกิจแข่งขันกันดุเดือด บริษัทยักษ์ใหญ่เองก็พยายามสยายปีกด้วยกำลังเงินที่มีมาก ด้วยการขยายบริษัทฯ เปิดสาขา  ซื้อโนว์ฮาว ซื้อกิจการ เป็นเครื่องมือในการเร่งการเติบโตให้สร้างรายได้  ขยายกำไรได้เต็มที่ แต่ในส่วน “เอสเอ็มอี”  ธุรกิจของคนตัวเล็กๆ ที่ขาดแคลนปัจจัยสู้รบหลายประการ ทั้งขาดเม็ดเงินสนับสนุน  ขาดคนเก่ง  ขาดโอกาสในการบุกพื้นที่ตลาดห่างไกล จะทำอย่างไรให้แข่งขันในเกมเศรษฐกิจได้ “แฟรนไชส์” เป็นเครื่องมือช่วยรบสำคัญของธุรกิจ SMEs  ที่จะช่วยทำให้ฝันของผู้ประกอบการทั้งหลายเป็นจริงได้  ถ้าวางระบบได้ถูกต้อง  โดยทำให้คนตัวเล็กสามารถสร้างแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว   ผ่านป้าย ผ่านรูปแบบร้านค้า ผ่านสินค้า  ด้วยการกระจายสาขาออกไป  ด้วยเงินลงทุนของผู้อื่น แถมยังสามารถบุกธุรกิจไปยังท้องถิ่นที่ไม่คุ้นเคยด้วยความชำนาญของคนในพื้นที่  ลดความเสี่ยงในการดำเนินการลง  ลดต้นทุนการขยายธุรกิจ ลดต้นทุนดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังสามารถได้คนทำงานที่ทุ่มเทใส่ใจมาบริหารสาขาแทนการจ้างคนด้วยตนเอง การเปิดสาขาใหม่ทางเจ้าของกิจการก็ได้เงินค่าแรกเข้าจากผู้ซื้อแฟรนไชส์  เพื่อนำมาสร้างสาขาใหม่ และตลอดระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจ  เจ้าของสาขาก็ยังได้เงินส่วนแบ่งกำไรจากสาขาแฟรนไชส์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้  คือ ข้อดีของระบบแฟรนไชส์  ประเด็นสำคัญคือ กิจการประเภทใด สามารถสร้างเป็นแฟรนไชส์ได้บ้าง  หากมองไปในพื้นที่ค้าปลีก จะพบว่า…

Read Moreธุรกิจอะไรบ้าง? ที่สร้างเป็นแฟรนไชส์ “ได้” และ “ไม่ได้”

ยุคดิจิทัล ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไรให้รุ่ง !!

ยุคนี้ ควรลงทุนทำอะไรดี ? เป็นคำถามที่หลายคนต่างเสาะหาลู่ทางสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ หากนำเงินสักก้อนไปลงทุนหรือเปิดธุรกิจสักอย่าง จะรุ่งอย่างที่คาดไว้หรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร วันนี้ FLA เรามีคำตอบ ช่วงนี้การลงทุนอีกหนึ่งรูปแบบที่มาแรงและได้รับความสนใจมาก คือ การหาซื้อแฟรนไชส์ดีๆ สักอย่างไปทำเป็นงานหลักหรืองานเสริม ซึ่งสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มแรก  : เหล่ากลุ่มบริษัทฯที่มีเงินทุนและมีทำเล ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์แบรนด์ต่างๆ เข้าพอร์ตตัวเอง เพื่อหวังขยายงานเร็ว และจับกระแสตลาดที่โตไว โดยซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาทำในรูปแบบมาสเตอร์แฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง เช่น  เครือ CP. ที่ซื้อสิทธิ์ 7-11 หรือเครือเซ็นทรัลที่ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์มาหลากหลายแบรนด์เปิดในห้าง ฯลฯ กลุ่มสอง : บรรดาลูกเถ้าแก่ ในกิจการท้องถิ่น เหล่าลูกๆ หลานๆ รุ่น …

Read Moreยุคดิจิทัล ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไรให้รุ่ง !!

สร้างมาตราฐานธุรกิจสู่ความสำเร็จ ด้วย “คู่มือปฏิบัติการออนไลน์ 4.0”

ปัญหาใหญ่สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจหรือกิจการที่หลายครั้งต้องสอนการทำงานให้กับพนักงานซ้ำๆ หรือไม่มีวิธีรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และพนักงานแต่ละคนต่างมีรูปแบบปฏิบัติที่ต่างกันเป็นไปตามประสบการณ์ ความสามารถ และการตัดสินใจ ทุกสิ่งล้วนส่งผลต่อมาตรฐานของธุรกิจทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้ เพราะธุรกิจไม่มีแนวทางปฎิบัติอย่างเป็นระบบในการทำงาน การที่จะควบคุมมาตรฐานการทำงานให้คงที่นั้น ธุรกิจต้องมี📚คู่มือปฏิบัติงานที่ดี (Operation manual) และมีการฝึกอบรมอยู่เสมอ ซึ่งคู่มือปฏิบัติงานมีความจำเป็นมากเพื่อรักษามาตรฐานให้เหมือนเดิมทุกครั้ง โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความละเอียด เช่น การปฏิบัติงานของฝ่ายที่ดูแลลูกค้าหน้าร้าน  ฝ่ายผลิตในโรงงาน/ร้านอาหาร ฝ่ายบริการ ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพนักงาน จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากกิจการคุณไม่มีระบบคู่มือปฏิบัติงานที่ชัดเจน อาจพบปัญหาอื่นๆ ตามมาไม่จบไม่สิ้น ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจประเภทบริการหากไม่มีระบบคู่มือให้ปฎิบัติตาม พนักงานแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานการบริการที่ต่างกัน บางคนพูดจาเพราะ บางคนพูดจาไม่เพราะ บางคนยิ้มแย้ม บางคนไม่ยิ้มแย้ม รูปแบบการให้บริการก็อาจดูแย่ในสายตาผู้ที่มาใช้บริการ ดังนั้น การทำธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าประทับใจ การสร้าง 📚คู่มือปฏิบัติการจึงเป็นสิ่งที่ต้องมีในทุกกิจการ และต้องออกแบบเนื้อหาเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกัน โดยเฉพาะกิจการที่มีหลายสาขา หรือกิจการแฟรนไชส์ที่ต้องส่งมอบเทคนิค ส่งต่อไปยังผู้ประกอบการที่ไม่ใช่พนักงานของตนด้วย…

Read Moreสร้างมาตราฐานธุรกิจสู่ความสำเร็จ ด้วย “คู่มือปฏิบัติการออนไลน์ 4.0”

How to.. สร้างแบรนด์ให้แตกต่าง เปิดประสบการณ์ใหม่ ให้ลูกค้าถึงจุดสุดยอด!

เคยสังเกตไหมว่า เวลาเราไปเที่ยวหรือไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอะไรก็ตาม  จะสังเกตได้ว่า เราจะมองเห็นสิ่งที่แบรนด์สินค้าและบริการนั้นๆ พยายามสื่อสารอะไรบางอย่างกับเรา ให้รู้สึกว่า แตกต่างจากแบรนด์คู่แข่งอยู่เสมอ  และนั่นจะมีจุดที่ทำให้เราตัดสินใจเลือกซื้อ นั่นคือ เรื่องสำคัญในการทำธุรกิจที่เรียกว่า  “ประสบการณ์ของลูกค้า ” โดยการสร้างแบรนด์  ก็คือ การสร้างประสบการณ์ ( Brand experience) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายแต่ละคน ได้สัมผัสกับแบรนด์ (Brand Touch  Point) ในทุกๆ ช่วงเวลาให้เกิดการรับรู้ ทั้งนี้ ประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภค  มักจะสัมผัสกับจุดสัมผัสต่างๆ ของแบรนด์ อาทิ  การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ หรือเอกลักษณ์ต่างๆ ของแบรนด์  เช่น บรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ การตกแต่งร้าน โลโก้ และ จนถึงการแต่งตัวของพนักงาน โดยสิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมให้…

Read MoreHow to.. สร้างแบรนด์ให้แตกต่าง เปิดประสบการณ์ใหม่ ให้ลูกค้าถึงจุดสุดยอด!
สอบถามข้อมูล